เรื่องที่คุณควรรู้ เกี่ยวกับ ผู้ป่วยนอนติดเตียง

ผู้ป่วยนอนติดเตียง

ในทางการแพทย์นั้น อาการนอนติดเตียง คือ การที่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะพอที่จะขยับตัวได้บ้าง แต่ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่น ๆ หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เลย โดยอาจมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงอาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ นอกจากนี้แล้ว การนอนติดเตียงยังเป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมายซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดการขาดอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ

            ผู้ป่วยติดเตียงจะมีอยู่ใน 2 กรณีคือ รับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงที่ต้องมาดูแลกันเองที่บ้าน ซึ่งในการดูแลที่บ้านนั้น ผู้ดูแลจะต้องเอาใจใส่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงจึงมีวิธีที่ผู้ดูแลควรรู้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ฟื้นฟูตัวเองพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ป่วยจากการโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ลองมาดู

วิธีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่จะทำให้การดูแลผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น

  1. ผู้ดูแลจะต้องคอยช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่องของการพลิกตัว โดยควรจะพลิกตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง ให้นอนหงายบ้าง ตะแคงซ้าย ตะแคงขวาบ้าง หรืออาจจะให้นอนคว่ำบ้างก็ได้      แต่ควรต้องระวังพอสมควร และนอกจากนี้ก็อาจมีการซื้อเตียงนอนเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียงมาใช้โดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งก็จะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับได้อย่างสบายขึ้นและป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อีกด้วย
  2. ในการรับประทานอาหาร อย่าให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารในขณะที่นอนอยู่ ก่อนที่จะให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารจึงควรจับผู้ป่วยให้นั่งตัวตรง โดยพยายามให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลังจากกินอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ผู้ป่วยได้นั่งอยู่ในท่าเดิมเพื่อให้อาหารได้ย่อยก่อนสัก 1 – 2 ชั่วโมงแล้วจึงค่อยให้นอนลง
  3. การขับถ่ายในกรณีที่มีการสอดสายปัสสาวะ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลจึงควรที่จะเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุก 2 – 4 สัปดาห์ และหากพบว่าปัสสาวะของผู้ป่วยมีสีขุ่นข้น หรือผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก ควรรีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันทีเพื่อเปลี่ยนสายสวน ไม่ควรปล่อยไว้นานๆ โดยชะล่าใจเด็ดขาด

วิธีเหล่านี้เป็นวิธีเบื้องต้นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งจะมีรายละเอียดในการดูแลที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทของความเจ็บป่วย แต่อย่างไรก็ตาม ความใส่ใจและเข้าใจผู้ป่วยก็คือสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ ซึ่งในการดูแลด้วยตนเองนั้นอาจจะยังไม่ถูกต้อง ควรจะมีการปรึกษาแพทย์หรือศูนย์รับดูแลผู้ป่วยด้วย เช่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย อายุวัฒน์เนอร์สซิ่งโฮม พระราม 2-บางบอน ที่ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะพักฟื้น ทั้งแบบประจำและแบบชั่วคราว ดูแลผู้ที่ช่วยเหลือตัวเองได้และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลโดยตรง โดยสามารถขอคำแนะนำและคำปรึกษา รวมถึงการขอรับบริการจากทางศูนย์ฯด้วยก็ได้